ตึกเราควรสำรองน้ำสำหรับระบบดับเพลิงเท่าไหรดี ?
ปริมาณน้ำสำรองน้ำดับเพลิงส่วนใหญ่ ก็อ้างอิงจากกฏหมายครับเพราะบังคับ การออกแบบปริมาณสำรองน้ำดับเพลิงถ้าน้อยเกินไปก็จะไม่เพียงพอสำหรับการระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ ถ้าออกแบบปริมาณมากเกินไปก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิม และต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก( เจ้าของโครงการไม่ชอบ 555 )
ในการออกแบบอาจต้องนึกถึงเวลาที่รถดับเพลิงจะมาถึง ทางเข้าออกสะดวกให้รถดับเพลิงเข้ามาโครงการหรือไม่ ?? อาจต้องพิจารณาให้รอบด้านถึงความจำเป็น
ในกฏหมายไทยส่วนใหญ่จะระบุที่ 30 นาที สำหรับท่อยืน ( สังเกตใช้คำว่า ” ท่อยืน ” ) ตัวเลข 30 นาที กฏหมายน่าจะ Refer. มาจาก NFPA14 เรื่อง Stand pipe ซึ่งใน NFPA14 ก็ระบุ 30 นาที่เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ในมาตรฐาน วสท. และ NFPA13 ในการออกแบบระบบ Sprinkler จะระบุปริมาณน้ำสำรองโดยแยกเป็นพื้นที่ความอันตราย เช่น
- พื้นที่อันตรายน้อย สำรองน้ำ 30-60 นาที
- พื้นที่อันตรายปานกลาง สำรองน้ำ 60-90 นาที
- พื้นที่อันตรายมาก สำรองน้ำ 90-120 นาที
ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อกําหนดในการป้องกันอัคคีภัยเล่ม 4 ระบบหัวกระจายน้ําดับเพลิงอัตโนมัติ ก็ระบุแบบนี้เช่นกัน ดังนั้นในการเลือกปริมาณน้ำสำรองว่าจะเท่าไหร่ดีอาจต้องพูดคุยถึงความจำเป็นและอธิบายให้ทางเจ้าของโครงการเข้าใจ โดยส่วนตัว อาคารที่ติดตั้ง ระบบ SPK ก็จะอ้างอิงมาตรฐาน วสท.กับ NFPA13 คือดูตามพื้นที่ครอบครอง สำหรับอาคารโรงงาน และมี Warehouse ติดตั้ง SPK จำพวก ESFR อันนี้ ต้องไปดูเพิ่มเติมนะครับ จะมาติด 30 นาที ตามกฏหมายก็ไม่เหมาะสม ใน NFPA13 ก็จะมีแนะนำอยู่ ตัวอย่างการคำนวณ เช่น อาคารสูง มีจำนวนท่อยืนทั้งหมด 3 ท่อยืน อัตราการไหล ของ Fire pump คือ 1,000 gpm เป็นอาคารอันตรายน้อย ปริมาณน้ำสำรองจะได้ว่า ปริมาณน้ำสำรอง คิด 30-60 นาที / Fire pump = 1,000 gpm ( คำนวณเลือก 30 นาที) ปริมาณน้ำสำรอง = (1,000 x 3.78) x 30/1,000 = 113.4 Cu.m. Cr.ชมรมวิศวกรออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย