Class A
Class A เป็น การลุกไหม้ของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงทั่วๆไป เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า ขยะแห้ง และพลาสติกบางชนิด A หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสําหรับดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุทั่วไป เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า เป็นต้น
Class B
Class B ได้แก่การลุกไหม้ของของเหลวที่ติดไฟง่าย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าซ ทินเนอร์ น้ำมันสน แอลกอฮอล์ B หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสําหรับดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง หรือของเหลวที่ไวไฟ
Class C
Class C การลุกไหม้ของวัสดุทางด้านไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ สวิช และอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
C หมายถึง เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เนื่องจากตัวสารเคมีที่ใช้ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า
Class D
Class D เป็นการลุกไหม้ของโลหะบางชนิดที่ สามารถติดไฟได้ เช่น โซเดียม โปแตสเซียม ไททาเนียมและแมกนีเซียม โลหะพวกนี้ ปกติจะติดไฟยาก แต่เมื่อติดไฟแล้ว จะกําเนิดก๊าซออกซิเจนออกมาทําให้ดับได้ยาก โลหะบางชนิดเมื่อติดไฟแล้วอาจทําปฏิกริยากับ น้ำและสารเคมีที่ใช้ดับไฟถึงขั้นระเบิดได้ ต้องระวัง
D หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสําหรับดับเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้
Class K
Class K ไฟที่เกิดจากน้ำมันที่ติดไฟยาก เช่น น้ำมันทําอาหาร น้ํามันพืช ไขมันสัตว์ติดไฟ
K วิธีดับไฟประเภท K ที่ดีที่สุด คือ การกําจัดออกซิเจน การทําให้อับอากาศ ซึ่งจะมีดังดับเพลิงชนิดพิเศษที่สามารถ ดับไฟชนิดนี้ โดยเฉพาะปัจจุบันนี้ ได้มีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงได้หลายประเภท ดังนั้น เราอาจเห็นถังดับเพลิง ที่ติดป้าย A-B หรือ B-C หรือแม้แต่ A-B-C ได้ นอกจากนี้ เครื่องดับเพลิงยังแบ่งเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง เช่น
- ผงเคมีแห้ง เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดันให้ผง เคมีออกจากถัง
- ฮาลอน (Halon) เป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซ นิยมใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้สิ่งที่มีค่า เช่น ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ห้องคอมพิวเตอร์ หรือห้องผ่าตัด เพราะเมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรงบริเวณที่ฉีด หรือ ทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ สามารถดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น
- น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิง Class A เท่านั้น
- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ Class B และ C แต่สามารถดับไฟได้ดี แค่ระยะ 3-8 ฟุต
ข้อห้ามในการดับเพลิง
มีข้อห้าม 3 ข้อที่ท่านต้องจำให้ขึ้นใจ เวลาจะเข้าทำการดับไฟ……
- กฎข้อที่ 1 เมื่อไฟไหม้ลุกลามมาก เช่น ภายในอาคารหรือโรงฝึก วิชาชีพ อย่าเพิ่งทำการดับเพลิงจนกว่าจะแน่ใจว่ามีทางออกจาก ตัวอาคารแน่นอนแล้ว และไฟที่กำลังไหม้นั้น ไม่มีแนวโน้มจะลุก ลามมากั้นทางออกของคุณ
- กฎข้อที่ 2 อย่าเสียเวลาดับเพลิง ถ้าเห็นว่าน้ำยาดับเพลิง, กำลังเจ้าหน้าที่หรือน้ำที่มีอยู่ ไม่ได้สัดส่วนกับขนาดของไฟที่กำลังลุกไหม้ ควรเอาตัวรอดหรือทำการอพยพผู้คน (ผู้ต้องขัง)จะดีกว่า เพราะถึงอย่างไร ชีวิตก็ยังมีค่ากว่าทรัพย์สิน
- กฎข้อที่ 3ถ้าเพลิงลุกลามมาก อย่าดับเพลิงตามลำพัง มิฉะนั้น ถ้ามีเหตุการณ์แทรกซ้อน เช่น การระเบิด การสำลักควัน จะไม่มี คนช่วยพาคุณออกมาได้
วิธีเอาตัวรอดเมื่อเวลาเกิดไฟไหม้
แม้แต่ทีมดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพที่สุดของอเมริกา ก็ยังต้องเสียชีวิตไปเกือบ 300 คน ในการเข้าดับเพลิงในตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ที่นิวยอร์ค เพราะฉะนั้น ……
ท่านน่ารู้ว่าเมื่อไหร่ต้องเผ่นป่าราบ เวลาเกิดไฟไหม้…….
- เมื่อเข้าพักหรือทำงานในอาคารสูง ต้องศึกษาเส้นทางหนีไฟและตำแหน่งของบันไดหนีไฟก่อนเสมอ ห้ามใช้ลิฟท์เวลาเกิดไฟไหม้เด็ดขาด
- ในขณะหนีไฟเมื่อเกิดไฟไหม้ ถ้าจำเป็นต้องเปิดประตูห้อง ต้องแตะดูที่ลูกบิดประตูก่อนเสมอ ถ้าร้อนจัด อย่าเปิดประตูบานนั้นเป็นอันขาด อาจเกิดปรากฏการณ์ Backdraft ขึ้นได้ (Backdraft น่ากลัวแค่ไหน ต้องลองไปเช่า VDO หรือ VCD หนังเรื่อง Backdraft มาดู)
- ถ้าไฟไหม้รุนแรงที่บริเวณนอกห้องจนไม่สามารถหนีออกจากห้องได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุดร่องประตูไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ควันเข้ามาในห้อง เปิด หน้าต่างแล้วรีบขอความช่วยเหลือ เช่นใช้โทรศัพท์ หรือ โทรศัพท์มือถือ (ถ้ามี) ถ้าควันมีมาก ต้องหมอบลงต่ำ (ปริมาณออกซิเจนในอากาศใกล้ พื้นห้องมีมากกว่าบริเวณเพดานห้อง) และปิดปากและจมูกด้วยผ้าชุบน้ำ
- ในกรณีที่ไฟไหม้เรือนนอนผู้ต้องขัง เมื่ออพยพผู้ต้องขังออกมาแล้วให้ตรวจนับยอดผู้ต้องขังทันที ถ้าไม่ครบ ต้องรีบเข้าไปตรวจสอบทุกๆ ห้องของเรือนนอน (ถ้ายังเข้าไปได้)
- ถ้าไฟกำลังไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้า ห้ามใช้น้ำดับไฟเด็ดขาด ท่านอาจเสียชีวิตเพราะถูกไฟดูด