ทำไมเราจำเป็นต้องตรวจถังดับเพลิงอยู่เป็นประจำ ?
เพราะการดับไฟโดยการใช้ถังดับเพลิงเป็นวิธีการดับไฟขั้นต้นที่หลาย ๆ ท่านควรให้ความใส่ใจ การตรวจสอบถังดับเพลิงเป็นวิธีที่ทำให้ถังดับเพลิงที่อยู่ในอาคารสำนักงาน ที่ทำงานหรือที่บ้านของเราพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ถ้าหากเราไม่มีการตรวจเช็คถังดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุไฟไหม้เกิดขึ้น เราอาจจะไม่สามารถควบคุมไฟไม่ให้ลุกลาม อุปกรณ์และสินค้าต่าง ๆ อาจเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม
วิธีการใช้ถังดับเพลิง โดย Bestworld
5 วิธี ตรวจสอบถังดับเพลิง
มาตรวัดแรงดัน หรือ เกจ์วัดแรงดัน
(Pressure Gauge)
อยู่ในตำแหน่งที่พร้อมใช้งาน เข็มของเกจ์ต้องชี้อยู่ในช่องที่เขียว (ตามรูป) ไม่ตกไปทางช่อง RECHARGE หรือ ช่อง OVERCHARGED ถ้าเข็มชี้ไปยังช่องดังกล่าวจะไม่สามารถฉีดเครื่องดับเพลิงนั้นเพื่อดับไฟได้
สลักและซีล (Pull Pin and Temper Seal)
ล็อคอยู่ ไม่ฉีกขาด
ถ้าสลักและซีลล็อคอยู่กับคันบีบ (ตามรูป) แปลว่าเครื่องดับเพลิงนั้นยังไม่ถูกใช้งานอย่างแน่นอน เมื่อไฟไหม้เกิดขึ้นเราสามารถมั่นใจได้ว่าถังดับเพลิงสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
คันบีบ (Handle)
อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บิด ไม่งอ
เมื่อเราจะฉีดน้ำยาถังดับเพลิง เราจำเป็นต้องใช้มือของเราบีบที่คันบีบ ดังนั้นถ้าคันบีบบิดและงอ อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน เครื่องดับเพลิงเครื่องนั้นอาจจะไม่สามารถกดคันบีบเพื่อนำน้ำยาออกมาจากถังดับเพลิงเพื่อดับไฟที่กำลังไหม้ได้
สายฉีด (Hose)
ไม่แข็ง ไม่แตกลายงา และไม่ฉีกขาด
เราต้องตรวจสอบสภาพการใช้งานของสายฉีดให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้แล้วเรานำถังดับเพลิงเครื่องที่สภาพของสายฉีดไม่พร้อมใช้งาน เมื่อฉีดใช้งานเครื่องดับเพลิงทำให้น้ำยาดับเพลิงรั่วตามสายฉีดและเป็นอันตรายได้
ตัวถังดับเพลิง (Fire Extinguisher body)
ไม่เป็นสนิม ไม่บุบ
โดยตรวจสอบอย่างละเอียด ดูรอบ ๆ ตัวถังดับเพลิง และยกมาดูที่ก้นของเครื่องดับเพลิง ห้ามขึ้นสนิมและต้องไม่บุบ
วิธีตรวจถังดับเพลิง CO2
ถังดับเพลิง co2 ที่ไม่มีเกจ์วัดแรงดัน เราจะสามารถตรวจเช็คได้อย่างไร??
นำถังดับเพลิง ไปชั่งน้ำหนัก โดยน้ำหนักเครื่องดับเพลิง co2 ของ BEST อยู่ที่ประมาณ 14.5 – 16 กิโลกรัม
ถังดับเพลิงหมดอายุ ควรทำอย่างไร ??
- ตัวถังดับเพลิง (Cylinder) ซึ่งตัวถังนี้มีอายุการใช้งานทั่วไปอยู่ที่ 5 ปี ซึ่งหากเก็บไว้ในที่ร่ม ห่างจากแสงแดดและความชื้นแล้ว อาจอยู่ได้นานมากกว่า 10 ปีเลยทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรักษา และสถานที่ติดตั้งที่กล่าวไปข้างต้น อย่างไรก็ตามหากถังดับเพลิงอายุเกิน 5 ปีแล้ว จะต้องทำการส่งทดสอบถังว่ามีรอยรั่ว สนิม หรือสามารถทนต่อแรงดันตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. ได้หรือไม่ โดยอายุของถังดับเพลิงนั้นจะถูกพบได้ตามบริเวณของตัวถัง โดยทางโรงงานจะต้องสลักปีที่ผลิตถังดับเพลิงตามข้อบังคับมอก. 332-2537 เสมอ
- น้ำยาดับเพลิง (Extinguishing Agents) โดยขึ้นอยู่กับว่าน้ำยาดับเพลิงนั้น เป็นน้ำยาชนิดไหน ซึ่งปกติทางโรงงานจะรับประกันอยู่ที่ 3 ปี และต้องมีการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เช่น สารดับเพลิงชนิดเคมีแห้ง ปกติแล้วสารเคมีชนิดนี้หากปล่อยไว้นานๆ อาจจับตัวกันเป็นก้อน และไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้นทุกๆ เดือนควรมีการกลับถังดับเพลิงเพื่อให้ผงเคมีเกิดการเคลื่อนไหว และแตกตัวออกจากกัน จึงจะสามารถยืดอายุของเคมีชนิดนี้ได้ ทั้งนี้หากเคมีเกิดการจับตัวกันเป็นก้อน ควรส่งให้โรงงานถังดับเพลิงเปลี่ยมเคมีทันที เนื่องสารเคมีนั้นไม่สามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ หรืออาจใช้ไม่ได้เลย หากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างเคมีกับก๊าซในถังทำให้แรงดันถังเพิ่มมากขึ้น และอาจเป็นอันตรายได้
จำหน่ายถังดับเพลิง อุปกรณ์ดับเพลิงทุกชนิด และรับติดตั้งระบบดับเพลิงในอาคาร
Tel: 088-569-8241 / 086-232-6516
Line: @bestworld
Email: [email protected]
บริการตรวจเช็คถังดับเพลิงทั่วประเทศ
ฟรีในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
ตรวจเช็คด้วยมาตรฐานการตรวจสอบถังดับเพลิง
เบอร์โทรศัพท์: 088-569-8241 / 086-232-6516
Line ID: @bestworld (มีเครื่องหมาย @)
Email: [email protected]
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับถังดับเพลิง BEST ได้ที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่
Installation Sprinkler: Open-Grid Ceiling
Installation Sprinkler: Open-Grid Ceiling มีเพื่อน ๆ สมาชิกได้ถามมาประเด็นการติดตั้งSprinkler: Open-Grid Ceiling ก็ตามนี้เลยครับ ของเก่าเอามาเล่าใหม่กันอีกรอบครับ ฝ้าตะแกรงที่สามารถติดตั้ง ด้านล่างของหัว Sprinkler ได้ จะต้องมีระยะช่องเปิดแต่ละด้าน ไม่น้อยกว่า ¼ นิ้ว (6.4 mm.) โดยที่วัสดุฝ้าตะแกรงจะต้องมีความหนาหรือความลึกไม่เกิน ขนาดที่เล็กที่สุดชองช่องเปิดและพื้นที่ช่องเปิดจะต้องไม่น้อยกว่า 70 %
การเกิดไฟไหม้ถูกจําาแนกลักษณะออกเป็น 5 ประเภท
Class A Class A เป็น การลุกไหม้ของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงทั่วๆไป เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า ขยะแห้ง และพลาสติกบางชนิด A หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสําหรับดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุทั่วไป เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า เป็นต้น Class B Class B ได้แก่การลุกไหม้ของของเหลวที่ติดไฟง่าย เช่น